เกษตรกรไทยกับนโยบาย 4.0 ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีที่เกษตรกรไทยต้องตามให้ทัน

เกษตรกรไทยกับนโยบาย 4.0 ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีที่เกษตรกรไทยต้องตามให้ทัน ประเทศไทยในยามนี้ถือว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องปรับตัวจากเดิม โดยเฉพาะด้านอาชีพทางการเกษตรที่เริ่มมาตั้งแต่เกษตรกรรมหรือยุค 1.0 ที่ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก เช่น ไม้สัก ยางพารา ข้าว ฯลฯ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นยุคอุตสาหกรรมเบาหรือยุค 2.0 ที่ใช้เครื่องจักรเข้ามาใช้ในการทุ่มแรงงานคน ช่วยในการผลิตสิ่งทอ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ จนปัจจุบันได้ก้าวมาอีกขั้นที่เรียกว่าอุตสาหกรรมหนักหรือยุค 3.0 ที่ผลิตเครื่องยนต์กลไกต่างๆ เช่น รถยนต์ เหล็กกล้า อิเล็คทรอนิคส์ โรงกลั่นน้ำมัน ฯลฯ ทำให้ประเทศไทยเราอยู่กับยุคนี้มามากกว่า 20 ปี จนเห็นได้ว่าตัวเลข GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเริ่มมีความถดถอยเพราะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีความสามารถในการผลิตและแข่งขันกับเราได้ ด้วยค่าแรงที่ต่ำกว่า ซึ่งนโยบายนี้พยายามที่จะให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมได้ก้าวไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าด้านการค้าขาย ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนับแต่นี้ไป ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์แห่งอนาคตก็คือ เปลี่ยนจาก 1. การเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2. เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง 3. เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services 4. เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง ดังนั้นประชาชนคนไทย จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงปรับตัวพัฒนาสาขาอาชีพให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และเรียนรู้การตลาดแบบดิจิตอล (Digital Marketing) เพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น การผลิตพืชผักปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ทดแทนข้าว หรือพืชผักที่ปลูกด้วยสารเคมี การแปรรูปน้ำผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพ แทนที่การขายวัตถุดิบแบบเดิมๆ ที่มีราคาต่ำ ซึ่งหากไม่มีเปลี่ยนแปลงพัฒนาในอนาคตก็จะสู้กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV และที่สำคัญจะต้องศึกษาหาตลาดตามโซเชียลเน็ทเวิร์คต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางกระจายสินค้าจากผู้ผลิตส่งตรงถึงผู้ซื้อ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น จีพีเอส ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัด อุณหภูมิ ความชื้น คุณภาพดิน และโดรน เพื่อการฉีดพ่นปุ๋ย ยาต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อความแม่นยำและรวดเร็วกว่ายุคที่ผ่านมา ข้อมูลข่าว : http://www.komchadluek.net/news/agricultural/266022 แหล่งที่มา: http://www.kasetnews.com/?p=7961
[fbcomments url="http://54.254.250.208/knowledge/%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2-4-0-%e0%b8%97%e0%b9%88/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save