รักษาโรคแคงเกอร์ในมะนาวโดยไม่ต้องใช้สารเคมี

โรคแคงเกอร์ นับว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชตระกูลส้ม เพราะโรคนี้ค่อนข้างที่จะเข้าทำลายพืชตระกูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ถ้าสภาพของต้นอ่อนแอ สาเหตุของโรคก็เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Xanthomonas campestris pv citri Hasse ซึ่งจัดเป็นโรคที่สร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะนาวและโดยเฉพาะผู้ที่ปลูกพืชตระกูลส้มทั้งหลายเป็นจำนวนมาก เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ รวมทั้งผลอีกด้วย สรุปง่ายๆ ว่าลองได้เจ้าโรคนี้เข้ามาทำลายแล้วละก็ เตรียมตัวเจ๊งกันได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทั้งหลาย โอกาสที่จะรับมือกับโรคนี้ก็จะยิ่งค่อนข้างยาก ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะโรคนี้จะทำให้สภาพต้นโดยทั่วไปอ่อนแอทรุดโทรมลง หรือตาย ผลผลิตตกต่ำ และอาจจะต้องเสียเงินเสียทองซื้อต้นพันธุ์ใหม่มาปลูก shutterstock_373447318 วิธีการจัดการดูแลและรักษานั้นก็ใช่ว่าจะง่าย ยิ่งถ้าเป็นสารเคมีด้วยแล้วก็ค่อนข้างที่จะอันตรายและมักจะไม่ค่อยได้ผลในระยะยาว ในกลุ่มผู้ที่นำสารเคมีเช่นคอปเปอร์เข้ามาใช้ก็อาจจะได้ผลในระยะแรกแต่ใช้ไปนานเข้า ๆ ก็จะทำให้ต้นมีปัญหาได้และเชื้อโรคแคงเกอร์ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม ใช่ว่าจะหมดไปโดยสิ้นเชิง และยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างและสะสมในดินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สารพิษที่ตกค้างเหล่านี้อาจจะยังไม่ออกฤทธิ์ออกเดชทันทีในช่วงที่ดินและสภาพภูมิอากาศมีความชื้นอยู่เพียงพอ เพราะความชื้นจากน้ำและสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวช่วยในการบรรเทาและเจือจางสารเคมีเหล่านั้นให้เป็นอันตรายน้อยลง แต่ถ้าเข้าสู่ฤดูแล้งต้นฤดูหนาว ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อยทำให้น้ำในดินระเหยออกไปในปริมาณมาก ทำให้สารพิษเหล่านี้มีความเข้มข้นมากขึ้นจนเป็นพิษต่อมะนาว ทำให้ต้นมะนาวทั้งหลายอ่อนแอลง และเชื้อโรคฉวยโอกาสรวมทั้งโรคแคงเกอร์ก็เข้ามารบกวนและจู่โจมมะนาวของเราได้ในทันที shutterstock_387052654 โรคแคงเกอร์ สามารถที่จะเข้าทำลายมะนาวได้เกือบทุกส่วนของต้นไม่ว่าจะเป็น กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น รวมทั้งผล ถ้าเป็นที่ใบอ่อนจะสังเกตเห็นได้ว่าเป็นจุดกลม ๆ ฉ่ำน้ำ ออกสีเหลืองซีด ๆ หรือเขียวอ่อน เมื่อขนาดของวงขยายใหญ่ขึ้นจะมีลักษณะฟูคล้ายๆ ฟองน้ำ ซึ่งในเวลาต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ด ขรุขระเป็นปุ่มนูนและแข็ง แต่ตรงกลางจะเป็นรอยบุ๋มยุบลงไป และมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล สามารถที่จะมองเห็นได้ทั้งสองด้านของใบ ถ้าปล่อยให้เป็นมากๆ ใบจะร่วงหล่น โรคแคงเกอร์เข้าทำลาย กิ่ง และก้าน ในระยะเริ่มแรกจะเกิดจุดสีเหลืองนูน ฟูอยู่บนเปลือกของกิ่งและก้านมะนาว ต่อมาแผลนั้นจะค่อยๆ แตกและแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล แล้วลุกลามขยายออกไปตามความยาว หรือรอบกิ่งจนกลายเป็นปุ่มหรือ ปมขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นโรครุนแรงหรือลุกลามขยายออกไปมากเข้าก็จะทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตาย และทรุดโทรมอาจถึงตายได้ shutterstock_185695784 ต่อมาลักษณะอาการของโรคแคงเกอร์เข้าทำลายที่ผล จะเกิดจุดแผลฝังลึกลงไปในผิวของผลอ่อน ลักษณะของแผลจะนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผลทำให้เกิดการปริแตกตามรอยแผลของโรคแคงเกอร์ shutterstock_328321070-1 ในปัจจุบันเราสามารถที่จะทำการรักษาโรคแคงเกอร์นี้ได้แล้วโดยที่ไม่ต้องไปใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายทั้งหลาย รวมทั้งสารเคมีที่ชาวบ้านเรียกกันว่าสารเขียวหรือสารประกอบทองแดงก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะยิ่งใช้นานเข้าก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความเลวร้ายให้แก่ต้นเพิ่มขึ้น เพราะต้นเขาจะยิ่งอ่อนแอหรือตาย แต่โรคนั้นก็ยังคงอยู่ ไม่หายไปไหน ควรเปลี่ยนมาใช้จุลินทรีย์ปราบโรค แคงเกอร์ที่ชื่อว่า บีเอส พลายแก้ว ในปริมาณ 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล โดยทำการเฉาะผลมะพร้าวอ่อนทำเป็นฝาแง้มเปิดหยอดเชื้อลงไปแล้วหมักทิ้งไว้ให้ได้ 24 ชั่วโมงและไม่เกิน 48 ชั่วโมง แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ในช่วงระยะเวลาแดดอ่อน หรือจะใช้ นมยูเฮชที รสหวาน 1 กล่อง หรือ นมถั่วเหลือง (แลคตาซอย, ไวตามิ้ลท์) 1 กล่อง นำมาเทใส่ถุงน้ำแข็งใส นำหนังยางมาผูกทำเป็นหูไว้ข้างหนึ่ง หยอดเชื้อลงไป 5 กรัม แล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่มทิ้งไว้โดยใช้ระยะเวลาเท่ากันกับวิธีหมักกับวิธีที่ใช้ผลของมะพร้าวอ่อน หลังจากหมักได้ที่แล้วก็นำมาผสมกับ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้เหมือนกัน แหล่งที่มา: http://www.thaigreenagro.com/
[fbcomments url="http://54.254.250.208/knowledge/%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%99%e0%b8%b2/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save