มะตูมซาอุ หรือมะตูมกินใบ พืชเศรษฐกิจตัวใหม่

เกษตรบ้านอะลาง : ช่วงออกพรรษาผมมีโอกาสกลับไปทำบุญบ้านที่ศรีสะเกษ เห็นป้าฝนที่บ้านปลูกต้นมะตูมกินใบไว้ หน้าตามันแปลก ๆ จากที่ผมได้นำมาลองทานดูรสชาดอร่อยดีกลิ่นหอมคล้ายกับมะม่วงอ่อนถ้ากินกับลาบ ก้อย ป่นปลา เข้ากันดีนักแล ร้านอาหารอีสานไม่ควรพลาดใครแวะไปแถวบ้านอะลางลองเข้าไปหาป้าฝนดูตัวอย่าง มะตูมซาอุได้ ตอนนี้ตลาดลาวที่คลองเตยขายกำละ 10-15 บาท ราคาดีและยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังมาแรงเวลานี้ครับ มะตูมซาอุ มะตูมแขก (Brazilian Pepper-tree) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Schinus terebinthifolius ถิ่นกำเนิด อยู่ในอเมริกาใต้แถบประเทศ บราซิล อาร์เจนตินาและปารากวัย มะตูมซาอุ จัดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 10 เมตร มีกิ่งก้านมากจนมองไม่เห็นลำต้น ใบอ่อนมีสีแดง ขอบใบมีลักษณะเป็นหนาม ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกันคนละต้น ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ สีขาว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ออกดอกได้ทั้งปี แต่พบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเมื่อแก่ เนื่องจากผลมีสีสวยสดและออกได้ทั้งปี จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ ผลเมื่อแก่จัดเปลือกจะแห้งติดเมล็ดคล้ายพริกไทย รู้มาว่าชาวอเมริกาใต้ใช้ผลมะตูมซาอุแทนพริกไทยด้วย ชาวบ้านเรียกขาน “มะตูมซาอุ” พอ สอบถามที่มาที่ไปของต้นไม้ชื่อจากตะวันออกกลาง จึงได้ข้อมูลที่น่าสนใจมาก คือ ชื่อของต้นไม้ได้มาจากลักษณะของต้น ผสมกับแหล่งที่มาของต้นไม้นี้ อธิบายขยายความได้ว่า คำว่ามะตูมมาจากลักษณะของใบที่มีรูปร่างคล้ายใบมะตูมแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก จึงเรียกว่ามะตูม ส่วนคำว่าซาอุเป็นแหล่งที่มา เนื่องจากมีชาวบ้านส่วนหนึ่งไปขายแรงงานที่ประเทศซาอุดิอารเบีย และพบพืชชนิดนี้ปลูกเป็นไม้ประดับจำนวนมาก ชาวไทยผู้นิยมกินผักเคียงกับนํ้าพริก จึงลองนำเอาใบมากินเป็นผักสด กินแล้วได้รสชาติดี พอกลับบ้านเฮาแดนอีสาน ก็ติดไม้ติดมือนำเมล็ด (ไม่ใช่เพชร) กลับมาปลูกในประเทศไทย แล้วพากันตั้งชื่อไว้เป็นอนุสรณ์ว่า  “มะตูมซาอุ” เวลา ผ่านไปไม่นาน พบว่ามีกลุ่มคาราวานคนขายต้นไม้ในแถบอีสาน ได้นำกล้าของมะตูมซาอุมาจำหน่าย แต่เรียกชื่อใหม่ว่า “มะตูมบางเลน”ถ้าเห็นครั้งแรกอาจคิดว่าพืชชนิดนี้อยู่ในกลุ่มพืชตระกูลส้ม เพราะใบเมื่อนำมาถูขยี้มีกลิ่นหอมแรงคล้ายใบมะกรูด ลักษณะของใบและโครงสร้างของลำต้นคล้ายมะแขว่น แต่เมื่อให้นักพฤกษศาสตร์ตรวจสอบสายพันธุ์กลับพบว่า “มะตูมซาอุ” เป็นไม้ในกลุ่มไม้มะม่วง การใช้ประโยชน์จากมะตูมซาอุมีหลากหลายมาก เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีนํ้ามันหอมระเหยหลายชนิด ประโยชน์หลัก ๆ ด้านยาได้แก่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ ซึ่งมีรายงานทางด้านวิทยาศาสตร์สนับสนุนในเรื่องนี้ นอกจากนี้พบว่าสารสกัดของมะตูมซาอุช่วยลดการอักเสบ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันตํ่า แก้ท้องผูก กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อและรักษาบาดแผล ทุกส่วนของไม้ชนิดนี้มีนํ้ามันและนํ้ามันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ ซึ่งนํ้ามันเหล่านี้ก่อให้เกิดรสเผ็ดและมีกลิ่นหอม เนื่องจากส่วนของใบมีนํ้ามันเป็นองค์ประกอบสูงมากเมื่อนำไปใส่ในนํ้าร้อน ใบจะเต้นไปมาและบิดม้วนตัว ในขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยนํ้ามันออกมา ส่วนของผลซึ่งมีรสเผ็ดร้อนเหมือนพริกไทยในประเทศเปรูใช้ผลิตนํ้าเชื่อม นํ้าส้มสายชู และอาหารว่าง ในประเทศชิลีใช้เป็นส่วนผสมของไวน์ และทำให้แห้งบดเป็นผงใช้แทนพริกไทย มะตูมซาอุเป็นพืชที่มีประวัติศาสตร์การใช้เป็นยาของชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ มาเป็นเวลาช้านาน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ใช้เป็นยาสมานแผล ต้านแบคทีเรียและไวรัส หรือใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ในประเทศเปรูใช้นํ้ายางจากต้นเป็นยาระบายอ่อน ๆ และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนทั้งหมดของต้นใช้เป็นยาปฏิชีวนะ ส่วนของนํ้ายางที่แห้งแล้วเมื่อนำมารวมกับนํ้ามันหอมระเหยที่ได้จากใบใช้เป็น ยารักษาแผล แหล่งที่มาของข้อมูล http://www.plantgenetics-rspg.org/schoolbot_club/?name=webboard&file=read&id=76 http://alangcity.blogspot.com/2013/12/blog-post_374.html
[fbcomments url="http://54.254.250.208/knowledge/%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%95%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b8-%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%95%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%83/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save