Auto Draft

ปลูกมันขี้หนู แซมสวนยางพารา

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 นางสาวพรภิมล จันทร์อ่อน เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน นางสาวชนิตา หนูผึ้ง นักวิชาการเกษตร และนายศุภกร ชูส่งแสง นักวิชาการเกษตร ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 5 สถานีพัฒนาที่ดินสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่บ้านหนองบ่อ หมู่ที่ 6 ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแปลงเพาะปลูกมันขี้หนูของนางมิสกรี ทองนวล หมอดินอาสาประจำตำบล ซึ่งปลูกมันขี้หนู แซมในสวนยางพารา เนื้อที่ 15 ไร่ เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น ดูแลง่าย และเป็นที่นิยมของผู้ บริโภคในพื้นที่ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายโดยขายในราคากิโลกรัมละ 20-30  บาท ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,300-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถสร้างรายได้ และเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรที่ปลูกยางพาราได้เป็นอย่างดี มันขี้หนู เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา แพร่กระจายเข้ามาสู่ชวา และประเทศในคาบสมุทรมลายู ประเทศไทยจะพบได้มากในภาคใต้ในสภาพธรรมชาติ ทั้งตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และสวนปาล์ม ไปจนถึงสวนยางพารา รวมถึงตามบ้านเรือนที่นิยมปลูกไว้รับประทาน เป็นพืชท้องถิ่นมีหัวที่นิยมปลูก และรับประทานมากในภาคใต้ เนื่องจากหัวมันขี้หนูนิยมนำมาประกอบอาหาร อาทิ แกงส้มปลาใส่หัวมันขี้หนู แกงจืดหัวมันขี้หนู แกงเหลือง และแกงไตปลา รวมถึงนำใบอ่อน และยอดอ่อนมาลวกรับประทานเป็นผักแกล้มน้ำพริกหรืออาหารรสจัด เช่น คั่วกลิ้ง บางพื้นที่ยังนำหัวมันขี้หนูมาทำแป้งสำหรับทำขนมหวานชนิดต่าง ๆ อีกด้วย เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นตั้งตรง ขนาดเล็ก และมักขึ้นกระจุกกันแน่น จนบางแห่งมีลักษณะเป็นกอหรือทรงพุ่ม ลำต้นสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม อวบน้ำ และมีขนปกคลุม ส่วนรากประกอบด้วยโคนรากที่พัฒนาเป็นหัว และรากฝอยค่อนข้างยาวที่แตกออกจากปลายหัวด้านล่าง หัวมันขี้หนู มีขนาดเล็กที่เป็นรากสะสมอาหาร ลักษณะเรียวยาว ทรงกระบอก หัวท้ายป้าน ขนาดหัวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร เปลือกหัวบาง มีสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีส้มอมเหลือง เนื้อหัวด้านในมีสีขาวอมเหลืองหรือสีครีมหรือสีม่วง ให้รสชาติมัน และหวานเล็กน้อย เติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย พื้นที่ปลูกไม่มีน้ำท่วมขัง และมีแสงแดดส่องตลอดทั้งวัน ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้นิยมนำมาปลูกในสวนยางพาราปลูกใหม่ และสวนปาล์มที่มีอายุน้อย เพราะมีแสงแดดส่องทั่วแปลง การเตรียมแปลงทั้งในแปลงสวนยางพาราหรือสวนปาล์มจะใช้การไถพรวนดิน และตากดิน พร้อมกำจัดวัชพืชนาน 5-7 วัน ก่อนไถพรวนแปลง และตากดินก่อนปลูกอีก 1 ครั้ง นาน 3-5 วัน ทั้งนี้ เกษตรกรอาจหว่านปุ๋ยคอก ก่อนการไถพรวนและก่อนปลูก การปลูกจะใช้หัวมันขี้หนูที่เก็บ และนำมาพักทิ้งไว้แล้วประมาณ 3 เดือน โดยคัดหัวที่เริ่มแตกหน่อแล้วประมาณ 3-4 เซนติเมตร ระยะห่างต่อหลุมประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่ละหลุมใช้หัวประมาณ 1-4 หัว โดยหัวใหญ่ใช้ประมาณ 1-2 หัว หัวเล็กใช้ 2-4 หัว อีกวิธีคือการปลูกด้วยยอดจะใช้การตัดต้นหรือตัดยอดจากต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุมากกว่า 4 เดือน โดยตัดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ก่อนนำไปปักชำหนึ่งจุดต่อ 1-2 ยอดต่อหลุม ในระยะห่าง 5-10 เซนติเมตร หรือปลูกลงแปลง เป็นหลุมห่างกัน 30-40 เซนติเมตร หลุมละ 2-4 ยอด ประมาณ 6 เดือน จนถึง 8 เดือน ก็สามารถเก็บหัวมาบริโภคหรือขายได้ การถอนเกษตรกรจะใช้มือถอนทั้งต้นหรือไถพรวนก่อนซึ่งผลผลิตโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2-3 ตันต่อไร่ ราคาขายทั่วไปประมาณกิโลกรัมละ 20-40 บาท ที่มา: https://www.dailynews.co.th/agriculture/611923
[fbcomments url="http://54.254.250.208/knowledge/%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b9-%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save