Auto Draft

ปลูกต้นคูนไว้กินและขาย

ต้นคูนพื้นที่อีสานบางแห่งเรียกว่า ทูน ส่วนภาคเหนือเรียกว่า ตูน ส่วนทางภาคใต้ จะเรียกว่า ต้นอ้อดิบ เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายกับต้นบอน บางพื้นที่นิยมนำมาบริโภคเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ และยำ

ต้นคูนพื้นที่อีสานบางแห่งเรียกว่า ทูน ส่วนภาคเหนือเรียกว่า ตูน ส่วนทางภาคใต้ จะเรียกว่า ต้นอ้อดิบ เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายกับต้นบอน ก้านใบและแผ่นใบจะสีเขียวอ่อน มีนวล ผู้คนบางพื้นที่นิยมนำมาบริโภคเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ และยำ

ก้านใบปอกเปลือก รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก แกงกะทิ ใบอ่อนและก้านใบ นำไปแกงส้มใส่ปลา และปรุงเป็นผักในแกงแค เป็นอาหารที่ทำกินกันในจังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช เป็นอาหารที่มีราคาถูก ทำง่าย กินกับข้าวสวย ทั้ง 3 มื้อ หรือเป็นกับแกล้ม ปัจจุบันยังมีที่ทำกินอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังใช้ทำอาหารได้อีกหลายอย่างด้วยการลอกเปลือกบริเวณผิวออก แล้วกินดิบ ที่สำคัญหลังลอกผิวนอกออกแล้วควรล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อให้หมดเมือกคัน จากนั้นปล่อยให้สะเด็ดน้ำก่อนเอามาผัดกับหมูหรือกุ้ง เหมือนผักทั่ว ไป บางพื้นที่ก็นิยมนำมาทำแกงเลียง ใส่ ปลาย่าง และกุ้งแห้ง หรือกุ้งสด หรือแกงจืด ใส่กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง เป็นต้น

ส่วนทางภาคใต้บางพื้นที่นิยมนำมาใส่แกงส้มและรับประทานเป็นผักสด เป็นผักชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมปลูกไว้ริมรั้ว หรือข้างบ้าน เป็นพืชที่ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำแฉะ 

ในการนำมาปลูกปัจจุบันมีเกษตรกรนิยมนำมาแซมยางพารา หรือไม้ยืนต้นประเภทให้ผลทั่วไป สร้างรายได้เสริมได้ตลอดทั้งปี 

การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ไม่มีโรคแมลงรบกวน ในระหว่างการปลูก การปลูกที่เหมาะสมควรปลูกเป็นแถวเว้นช่องว่างระหว่างแถวประมาณ 5 ศอก แต่ละกอห่าง 50 x 50 เซนติเมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 15 เซนติเมตร นำหน่อพันธุ์ ลงหลุม หลุมละ 1 ต้น ติดสปริงเกลอร์ ปล่อยน้ำ ในช่วงแรกหลังปลูกวันละครั้ง เมื่อหน่อพันธุ์ตั้งตัวได้แล้ว สามารถทิ้งระยะห่างในการรดน้ำได้ 2-3 วันต่อครั้ง 

จากนั้นประมาณ 15 วัน ให้ปุ๋ยคอกประเภทมูลโคโดยนำไปโปรยรอบๆ กอคูน เว้นระยะประมาณ 15 วัน ใส่อีกครั้งในปริมาณเท่าเดิม ส่วนช่วงหน้าฝนไม่ต้องใส่เพราะต้นคูนจะเจริญเติบโตดีในช่วงนี้ด้วยมีน้ำอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ 

ประมาณ 3 เดือนหลังการปลูกก็สามารถตัดก้านที่รอบนอกมาบริโภคหรือจำหน่ายในตลาดทั่วไปได้ ซึ่งแต่ละกอหลังตัดควรเหลือก้านไว้ประมาณ 4-5 ก้าน และอีก 7 วัน ก็จะมีก้านคูนงอกออกมาทดแทน ราคาจำหน่ายในปัจจุบันบางพื้นที่จะอยู่ที่ประมาณ 7-10 บาทต่อกิโลกรัม 

สำหรับการปลูกในรุ่นต่อๆ ไปนั้นเกษตรกรสามารถผลิตหน่อพันธุ์ได้ด้วยตนเอง อันจะเป็นการประหยัดต้นทุนในการเพาะปลูกได้เป็นอย่างดี ด้วยการนำส่วนหัวของต้นคูนมาผ่า แล้ววางไว้บริเวณพื้นดินที่ที่มีความชื้นคลุมด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้งก็ได้ 

ไม่นานต้นคูนก็จะเกิดหน่อใหม่ขึ้นมา ก็สามารถนำหน่อใหม่นี้ไปปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ได้ต่อไป

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/agriculture/610178
[fbcomments url="http://54.254.250.208/knowledge/%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%a2/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save