ต้นอ่อนทานตะวัน

โดย: ศิริวรรณ ทิพรักษ์ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ในปัจจุบันกระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งต้นอ่อนของพืชผักชนิดต่างๆ ก็จัดเป็นหนึ่งในผักสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยม มีงานวิจัยพบว่า การบริโภคต้นอ่อนหรือเมล็ดพืชงอกนั้น ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าเมล็ดพืชที่ไม่งอก

1. เลือกเมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่เป็นเมล็ดมีชีวิต กล่าวคือ เป็นเมล็ดที่ใช้ปลูก ไม่ใช่เมล็ดเพื่อการบริโภคควรเป็นเมล็ดที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆมีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 1 ปี ปราศจากโรคและเชื้อรา เมล็ดทานตะวันที่เห็นกันทั่วไปตามท้องตลาดในปัจจุบันประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ เมล็ดลาย เมล็ดดำ และเมล็ดโต ซึ่งสามารถใช้เพาะเป็นต้นอ่อนได้ดีทุกลักษณะ

2. เมื่อได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วให้คัดแยกเศษสิ่งเจือปนต่างๆ รวมทั้งเมล็ดที่มีเชื้อราออก เพื่อลดโรคที่จะเกิดขึ้นกับต้นอ่อนทานตะวัน จากนั้นล้างเมล็ดด้วยน้ำสะอาด

3. แช่เมล็ดพันธุ์ทานตะวันในน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 40-50 องศาเซลเซียส หากไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ให้ใช้วิธีผสมน้ำร้อน 1 ส่วน กับน้ำเย็น 2 ส่วน แช่เมล็ดเป็นเวลา 12 ชั่วโมง

4. เมื่อครบกำหนดเวลาให้เทน้ำออก ขั้นตอนนี้จะพบว่าเมล็ดทานตะวันส่วนหนึ่งเริ่มมีรากโผล่พ้นเมล็ดแล้ว จากนั้นห่อเมล็ดด้วยผ้าสะอาดที่ชุ่มน้ำ วางในที่ร่มเป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดทานตะวันทุกเมล็ดมีรากงอกออกมาสม่ำเสมอกัน

5. โรยเมล็ดทานตะวันที่งอกนี้ลงบนวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ อาจใช้แกลบดำ ขุยมะพร้าว หรือดินผสมที่ซื้อตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป การโรยเมล็ดไม่ควรให้เมล็ดซ้อนทับกัน

6. จากนั้นโรยวัสดุเพาะบางๆ อีกชั้นหนึ่ง เพื่อกลบเมล็ด แล้วรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้แฉะเกินไป

7. การเพาะต้นอ่อนในช่วง 3 วันแรกควรให้ต้นอ่อนอยู่ในที่ร่ม มีแสงรำไร และให้ได้รับแสงแดดหลังวันที่ 4 ของการเพาะ เพื่อให้ต้นอ่อนมีสีเขียวสวยงาม แต่ระวังอย่าให้โดนแดดจัดมาก

8. การให้น้ำควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปริมาณน้ำที่ให้ในแต่ละครั้งต้องควบคุมไม่ให้มากเกินไปรดแค่ให้พอมีความชื้นก็พอ

9. การเก็บเกี่ยวต้นอ่อนทานตะวัน ทำได้โดยใช้กรรไกรสะอาดตัดโคนต้นอ่อนเมื่อต้นอ่อนมีอายุ 5-15 วัน หรือเมื่อต้นอ่อนมีความสูงประมาณ 8-14 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ อุณหภูมิและสภาพแวดล้อม หากอุณหภูมิสูงจะสามารถตัดต้นอ่อนทานตะวันได้เร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ โดยระยะเก็บเกี่ยวต้นอ่อนทานตะวันที่ดีควรเก็บเมื่อต้นอ่อนมีใบเพียง 2 ใบ อย่าทิ้งไว้จนมีใบที่ 3-4 จะทำให้ต้นอ่อนมีรสขมเสียรสชาติได้

อ้างอิงจาก: หนังสือ เกษตรอภิรมย์  ปีที่ 1 ฉบับที่ 16  กรกฎาคม-สิงหาคม 2558

[fbcomments url="http://54.254.250.208/knowledge/%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save