แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

นายสถิตย์ ภูทิพย์ เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้มอบหมายให้กลุ่มอารักขาพืช โดยนายจิรประวัติณ์ ไทยประสิทธิ์ รักษาการหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช พร้อมด้วยนางสาวสาวรีย์ จันทร์คำ และนางสาวนวรัตน์ ประภูชะกัง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ลงพื้นที่ตามคำร้องขอของเกษตรกรเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคในพริกไทย

ตามที่ได้รับแจ้งจากนายวีระ พึ่งประดิษฐ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทย บ้านหนองทอง หมู่ 10 ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกพริกไทย 7 ไร่เกษตรกร 15 ราย

ซึ่งพบว่า พริกไทยเกิดอาการใบเหลือง และลำต้นบางส่วนแห้งตาย จำนวน 5 ราย บนพื้นที่ 4 ไร่ จากผลการลงพื้นที่สำรวจวินิจฉัยพบว่า เป็นลักษณะอาการของโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะพบในช่วงฤดูฝน และบริเวณแปลงที่มีน้ำท่วมขัง มีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora spp. โดยเชื้อราจะเข้าทำลายบริเวณรากฝอยและลุกลามไปยังส่วนต่าง ของต้นพริกไทย 

โดยส่วนที่ถูกทำลายจะเกิดอาการเน่า เป็นสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำ หากเป็นมากท่อน้ำและท่ออาหารจะถูกทำลายทำให้การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุหยุดชะงัก จากนั้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วงหล่น และลำต้นตายลง 

และจากผลของการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ได้ทราบถึงที่มาของปัญหาจึงได้ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดแก่เกษตรกร โดยให้เกษตรกรจัดการพื้นที่ปลูกในแปลงของตนเองให้มีทางระบายน้ำ เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน 

พร้อมทั้งนำเถาพริกไทยที่เป็นโรคไปเผาทำลายเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด และแนะนำให้เกษตรกรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับแปลงที่ไม่มีการระบาดมาก ส่วนแปลงที่มีการระบาด  ของโรคเป็นจำนวนมากได้แนะนำให้ใช้สารเคมีฟอสอีทิล อลูมิเนียม (80% ดับเบิลยู พี) หรือฟอสฟอริคแอซิค (40% แอล) ละลายน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นและบริเวณหลุมปลูก โดยควรหยุดใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน

สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าโคนิเดียหรือสปอร์จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว 

 เชื้อราชนิดนี้เป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งอาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถผลิตปฏิชีวะสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืชอีกด้วย

และคุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโค   เดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ใน รูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/agriculture/612312

[fbcomments url="http://54.254.250.208/en/knowledge/15599/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save