ใส่ปุ๋ยอย่างไรให้พืชได้ประโยชน์สูงสุด

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

1. ใส่ให้กับพืชในระยะที่เหมาะสม พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารมักจะแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ การที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินชนิดเดียวกันและกับพืชชนิดเดียวกัน อาจให้ผลแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการใส่ปุ๋ยแก่พืชว่าจะตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความต้องการธาตุอาหารนั้นๆ หรือไม่ เพราะช่วงระยะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ 1. ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอกและเจริญเติบโตในระยะ 30-45 วัน พืชมักจะต้องการธาตุอาหารพืชน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังมีน้อยและต้นยังเล็กอยู่ 2. ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นระยะที่กำลังแตกกอและระยะที่กำลังสร้างตาดอก เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารมากที่สุดและดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่สูงที่สุดในช่วงการเจริญเติบโตที่สองนี้ เพราะเป็นระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผลที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม 3. ช่วงที่พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะกำลังสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งผล ฝักหรือเมล็ดแก่ 2. ใส่ให้พืช ณ จุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากจังหวะและระยะเวลาการใส่แล้ว วิธีการเพื่อให้พืชดึงดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยจะเคลื่อนที่ (mobile) ได้รวดเร็วมากเพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเตรตจะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว และถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ได้ก็จะสูญเสียไปหมดและไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ลงดินจะสูญเสียไปโดยการชะละลายเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม (NH4-N) ถึงแม้จะดูดซับอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูกชะละลายได้ยากก็จริง แต่ถ้าดินมีการถ่ายเทอากาศดี แอมโมเนียม –ไนโตรเจน (NH4-N) จะถูกออกซิไดส์ (oxidized) ให้กลายเป็นไนเตรต-ไนโตรเจน (NO3-N) ได้ง่ายและเร็วมาก ส่วน ฟอสฟอรัส ในปุ๋ย ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่ายเมื่ออยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่างๆ ในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากและทำให้เป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยลงและไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตหรือใช้เครื่องพ่นยาตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่ายก็จะมักจะคงอยู่ตรงจุดนั้น หรือถ้าจะเคลื่อนย้ายออกจากจุดเดิมได้บ้างก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี 1-5 ซม. เท่านั้น ดังนั้นในการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืชจึงควรใส่โดยให้เนื้อปุ๋ยอยู่ใกล้กับรากพืชมากที่สุดโดยไม่เป็นอันตรายต่อรากพืช การใส่บนผิวดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าการใต้ผิวในบริเวณรากที่แพร่กระจายไปได้ถึง ซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่บนผิวดินที่สามารถซึมลงยังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย โดยทั่วไป การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินไม่มีข้อดีมากไปกว่าการใส่บนผิวดิน สำหรับปุ๋ย โพแทช ตามปกติจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าปุ๋ยฟอสเฟตแต่จะช้ากว่าปุ๋ยไนโตรเจน ธาตุโพแทสเซียมในปุ๋ยละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กันกับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากโพแทสเซียมไอออน ( K+) มีประจุบวกซึ่งสามารถดูดซับอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวที่มีประจุลบได้ จึงทำให้ถูกชะละลายได้ยาก แต่อย่างไรก็ดี ปุ๋ยโพแทชในรูปดังกล่าวก็ยังเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทชจึงสามารถใส่บนผิวดินหรือใต้ผิวดินได้ แต่การเคลื่อนย้ายในดินจะเคลื่อนย้ายได้ช้ากว่าไนโตรเจนเดียวกัน การสูญเสียโดยการชะละลายโดยน้ำก็จะน้อยกว่าด้วย ดังนั้นในการใส่ปุ๋ยลงดิน ณ จุดที่พืชจะสามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากและรวดเร็วที่สุด ผู้ใช้จึงต้องเข้าใจธรรมชาติและสมบัติของธาตุอาหารทั้งสามชนิด (N, P, K) เมื่ออยู่ในดินดังกล่าวข้างต้นเสียก่อน การใส่ปุ๋ยอย่างไรก็ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วย ติดตามความรู้ด้านการเกษตรดีๆได้ที่ กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ Cr. Rakkaset Nungruethail ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.vigotech.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539803159&Ntype=8
[fbcomments url="http://54.254.250.208/en/knowledge/%e0%b9%83%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%9b%e0%b8%b8%e0%b9%8b%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b8%8a/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save