หลักการและวิธีการกำจัดศัตรูพืช

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

หลักการและวิธีการหรือขั้นตอนในการจัดการศัตรูพืชซึ่งอาจเป็นการจัดการแมลงศัตรูพืช การจัดการโรคพืช หรือการจัดการวัชพืชก็ได้ ทั้งนี้โดยทั่วไปทุกประเภทของศัตรูพืชมีหลักการและวิธีการหรือขั้นตอนการจัดการคล้ายกันมากแตกต่างกันเพียงรายละเอียดเรื่องชนิดของศัตรูพืชเท่านั้น หลักการที่ 1 การจัดการศัตรูพืชเป็นระบบหรือกระบวนการที่ใช้วิธีการควบคุมวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกันได้เป็นวิธีการที่สามารถลดจำนวนประชากรของศัตรูพืชลงได้จนถึงขั้นที่ไม่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อพืช ในทางปฏิบัติดูจากตัวเลขปริมาณที่นักกีฏวิทยาใช้ชี้วัดที่เรียกว่า Economic threshold (ET) ส่วนนักโรคพืชใช้คำว่า Threshold density (TD) ตัวเลขนี้หมายถึงปริมาณแมลง (เป็นตัว) หรือเชื้อโรคพืช (เช่น จำนวนสปอร์ หรือโคนิเดีย) ที่มากพอที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับพืชได้ ในทางปฏิบัติจริงไม่จำเป็นต้องฆ่าหรือกำจัดศัตรูพืชให้ตายทั้งหมดหรือประชากรเป็นศูนย์ เหลือบ้างก็ได้ อาจกล่าวได้ว่าการจัดการศัตรูพืชเป็นระบบการทำงานที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวระบบการทำงานเอง กล่าวคือผู้ปฏิบัติต้องมีทั้งความรู้ทุกอย่างแล้วยังต้องมีคามสามารถทำงาน ตัดสินใจด้วยข้อมูลที่มีเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดในระบบการจัดการนี้ หลักการที่ 2 ต้องจัดการให้การจัดการศัตรูพืชเป็นกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการปลูกพืชที่มีหลายกิจกรรม เช่น การจัดการพืช (ใช้พันธุ์พืชที่ดี ให้ผลผลิตสูง) การจัดการดิน (เช่น การเตรียมดิน การใส่ปุ๋ย) การจัดการน้ำ การดูแลรักษาจนเก็บเกี่ยวและการทำการตลาด หลักการที่ 3 การใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชต้องเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จำเป็นเท่านั้น (ยกเว้นการคลุกเมล็ดและการแช่ท่อนพันธุ์ในระยะแรก) และพืชชนิดนั้นควรมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปลูกชนิดเดียวในเนื้อที่กว้างหรือที่เรียกกันว่าพืชเชิงเดี่ยว ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 1 ว่าการจัดการศัตรูพืชเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างยาวและใช้เวลามาก เริ่มตั้งแต่คิดจะปลูกพืชจนถึงเก็บเกี่ยวและส่งขายตลาด ลำดับขั้นตอนในการทำกิจกรรมนี้มีดังนี้ 1. เมื่อเริ่มคิดจะปลุกพืช ต้องจัดหาข้อมูลหรือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพืชที่ต้องการปลูก ได้แก่ พันธุ์พืช การดูแลรักษา (ตั้งแต่ปลูก ให้น้ำ จนเก็บเกี่ยว) การเพิ่มธาตุอาหารให้ดิน ความทนทานต่อโรคและแมลง ปัจจัยเรื่องสภาวะแวดล้อม ชนิดของศัตรูพืช (โรค แมลงหรือวัชพืช) ที่ต้องพบในสภาพแปลง ความเสียหาย และวิธีการระบาด รวมถึงวิธีการควบคุมวิธีต่างๆ อาจมีแผนการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชสำรองไว้ได้ ขั้นตอนนี้นับว่าสำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องกระทำก่อนกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดในระยะแรก 2. เลือกหาหรือใช้เมล็ดพันธุ์หรือท่อนพันธุ์ที่ปลอดศัตรูพืชทุกชนิด (อาจมีการคลุกเมล็ดหรือแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีถ้าจำเป็น) ต้องใช้วิธีการป้องกัน กีดกัน หลีกเลี่ยง ลดปริมาณ รวมถึงการจัดการศัตรูพืชทุกวิธีการในระยะแรกนี้ให้ได้มากที่สุดก่อนนำไปปลูกซึ่งรวมถึงดินในแปลงหรือไร่ที่ต้องการปลูกพืช 3. เมื่อปลูกแล้ว พืชเริ่มงอกและเจริญเติบโต จำเป็นต้องเริ่มมีการเดินตรวจหรือสังเกตการณ์ดูศัตรูพืชจากอาการสัญญาณหรือสิ่งผิดปกติที่เกิดกับส่วนต่างๆ เช่น บนใบ ใต้ใบ ลำต้น (ระยะนี้ยังไม่พบระบบรากพืช) ซึ่งอาจเกิดจากโรคหรือแมลงหรือมีวัชพืชชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นแซมในแปลงให้บ่อยทีสุด เช่น ทุก 2-3 วัน หรือาจทำเป็นตารางการตรวจแปลงไว้ก็ได้ การปล่อยให้ศัตรูพืชขยายพันธุ์หรือเพิ่มปริมาณอาจสายเกินแก้ไขได้ 4. เมื่อพบสัญญาณ สิ่งบอกเหตุว่ามีแมลงโรคพืชหรืออาการผิดปกติบนส่วนต่างๆของพืช ถ้าสามารถวินิจฉัยชนิด ปริมาณหรือความรุนแรงได้จำเป็นต้องรีบกระทำ จากนั้นจึงประเมินและพิสูจน์ให้ได้ว่าศัตรูพืชนั้นจะระบาดต่อไปหรือไม่ (ขั้นตอนนี้เป็นการใช้หลักวิชาการ) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชได้มากน้อยขนาดไหน หรือที่เรียกว่าการทำนายการระบาดของแมลง หรือเชื้อโรค ในกรณีที่เกษตรกรเองไม่สามารถวินิจฉัยชนิด ความรุนแรงหรือปริมาณของศัตรูพืชได้ ควรต้องรีบปรึกษาหรือรับฟังคำแนะนำจากผู้รู้หรือนักวิชาการแล้วทำตามคำแนะนำอย่างครบถ้วนรวดเร็ว 5. ตัดสินใจเรื่องที่จะต้องดำเนินการต่อไปว่าควรหยุดยั้งการระบาดหรือไม่ ความเสียหายจะมากน้อยขนาดไหนถ้าปล่อยให้ศัตรูพืชนั้นเพิ่มปริมาณหรือระบาดต่อไป ถ้ามั่นใจว่าโรคหรือแมลงนั้นจะไม่ระบาดมากจนทำความเสียหายทางเศรษฐกิจกับพืชได้ก็ไม่จำเป็นต้องทำการใดๆ รวมถึงการไม่ใช้สารเคมีช่วย ในกรณีที่มั่นใจหรือเป็นที่แน่นอนแล้วว่าศัตรูพืชนั้นจะระบาดอย่างรุนแรงและพืชต้องเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีการหยุดหรือลดการระบาด การขยายพันธุ์ของศัตรูพืชด้วยการเขตกรรม ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำลายวัชพืช เศษซากพืช การทำความสะอาดแปลง การตัดแต่งกิ่งก้าน การเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืช เช่น การใส่ปุ๋ยหรือธาตุอาหารที่จำเป็น ทำการควบคุมโดยชีววิธีเท่าที่ทำได้ เช่น การใช้ศัตรูธรรมชาติ เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ หรือสารสกัดที่เตรียมใหม่และทางเลือกสุดท้าย ในการหยุดการระบาดและมิให้เกิดความเสียหายกับพืชคือ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจะเป็นต้องใช้ให้ถูกวิธีและในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น 6. ประเมินและสรุปผล เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการจัดการกิจกรรมทุกประเภท เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบว่าการกระทำที่ผ่านมาคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ ความพึงพอใจผลที่ได้ คำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลควรเป็นอย่างไร เป็นต้น โดย: ศาสตราจารย์ ดร. สืบศักดิ์ สนธิรัตน ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน อ้างอิงจาก: หนังสือเกษตรอภิรมย์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558 http://www.siamrath.co.th/web/?q=node/20729
[fbcomments url="http://54.254.250.208/en/knowledge/%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b8%8a/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save