รูปแบบการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน 1. การเตรียมดิน 1.1 ไถดะด้วยผาล 3 หนึ่งครั้ง 1.2 ปลูกปอเทือง (ใช้เมล็ด 8 กก./ไร่) 1.3 ช่วงต้นปอเทืองออกดอกไถกลบด้วยผาล 3 1.4 ไถระเบิดดินดาน 1.5 ไถแปรด้วยผาล 7 สามครั้ง 1.6 ไถระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร 1.7 ไถชักร่องเดี่ยวลึก 30 เซนติเมตร 2. พันธุ์อ้อย 2.1 LK 92-11 (ศูนย์ส่งเสริมอ้อยฯ ภาคเหนือ) 3. เตรียมต้นกล้า 3.1 เพาะต้นกล้าอ้อย 3.2 คัดเลือกต้นกล้าอ้อยเตรียมนำลงแปรงปลูก เดือนพฤษภาคม 4. การปลูก 4.1 ใช้จอบพรวนดินในร่องอ้อย 4.2 ใช้คราดพรวนดินในร่องอ้อย 4.3 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น 500 1กก./ไร่ 4.4 นำต้นกล้าปลูกวางต้นคู่ 1,600 ต้นต่อแถว 4.5 ใช้จอบกลบต้นกล้าอ้อยที่ปลูก เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม 5. บำรุงรักษา 5.1 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่งหน้า 500 กก./ไร่ ครั้งที่ 1 5.2 การกำจัดวัชพืช (ด้วยหญ้าญี่ปุ่น) 5.3 การให้น้ำอ้อย (ใช้ระบบน้ำพุเตี้ย) 5.4 ทำการสางใบอ้อยช่วงอายุอ้อย 4 เดือน 5.5 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่งหน้า 500 กก./ไร่ ครั้งที่ 2, 3 เดือนมีนาคม 6. การเก็บเกี่ยว 6.1 ตัดอ้อยสด (ใช้แรงงานคน) 6.2 ขึ้นอ้อย (ใช้รถคีบ) 6.3 ใช้รถบรรทุกสิบล้อ (บรรทุกอ้อยส่งโรงงาน) เดือนเมษายน ถึง เดือนตุลาคม 7. การบำรุงรักษาหลังการเก็บเกี่ยว 7.1 ไม่เผาใบอ้อย 7.2 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่งหน้า 500 กก./ไร่ 7.3 การให้น้ำ (ใช้ระบบน้ำพุเตี้ย) 7.4 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่งหน้า 500 กก./ไร่ ครั้งที่ 2, 3 ต้นทุนการปลูกอ้อยสูตร 100 ตัน/ไร่ ต้นทุนที่1 (ปลูกแบบซื้อพันธุ์อ้อย)
  1. การเตรียมดินค่าไถเตรียมดิน 980 บาท/ไร่
  2. ค่าพันธุ์อ้อย (12 ตัน/ไร่) 13,200 บาท/ไร่
  3. ค่าปุ๋ยอินทรีย์ 4,500 บาท/ไร่
  4. ค่าปลูกอ้อย 2,000 บาท/ไร่
  5. ค่าถุงเพาะชำ 9,600 บาท/ไร่
  6. ไม้ไผ่ 8,687 บาท/ไร่
  7. ไม้ยูคา 6,578 บาท/ไร่
รวม 45,545 บาท/ไร่ ต้นทุนที่ 2 (ปลูกแบบเตรียมพันธุ์เองเพื่อลดต้นทุน)
  1. การเตรียมดินค่าไถเตรียมดิน 980 บาท/ไร่
  2. ค่าปุ๋ยอินทรีย์ 4,500 บาท/ไร่
  3. ค่าปลูกอ้อย 2,000 บาท/ไร่
  4. ค่าถุงเพาะชำ 9,600 บาท/ไร่
  5. ไม้ไผ่ 8,687 บาท/ไร่
  6. ไม้ยูคา 6,578 บาท/ไร่
รวม 32,345 บาท/ไร่ ก่อนเริ่มกระบวนการเพาะปลูก ปัจจัยแรกสุดที่ให้ความสำคัญและคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน คือ พื้นที่เพาะปลูก จะ ต้องมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี คัดเลือกพื้นที่ให้อยู่ห่างจากมลพิษทั้งหลาย คือถนนหลวง โรงงาน และแปลงปลูกพืชที่ใช้สารเคมี และจะต้องศึกษาประวัติด้านการเกษตรของพื้นที่นั้นอย่างถี่ถ้วน เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อความบริสุทธิ์ของอ้อยอินทรีย์ หัวใจของการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันเป็นวงจร เพื่อดูแลหล่อเลี้ยงต้นอ้อยให้เติบโตสมบูรณ์ คือ 1.ดิน 2.พันธุ์อ้อย 3.น้ำ 4.ปุ๋ย โดยมีวิธีการปลูกดังนี้ การเตรียมดิน เนื่อง จากดินเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของอ้อย การศึกษาเรื่องของดินอย่างลึกซึ้งถึงแก่น ทำให้ทราบว่า ดินที่อ้อยต้องการ จะต้องมีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรียวัตถุ และแร่ธาตุ ดังนั้น การเตรียมดินจะต้องใช้ปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน, ฟิวเตอร์ เค้กและขี้เถ้า ผสมกันในอัตราที่เหมาะสม เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุมากขึ้น สภาพพื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อยสามารถระบายน้ำได้ดี มีแหล่งน้ำที่สะอาด อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นแหล่งน้ำชลประทาน  วิธีการปลูก ก่อนอื่นจะต้องมีการคัดเลือกพันธุ์อ้อย พันธุ์ที่แนะนำใช้ในแปลงคือ พันธุ์ LK92-11 ที่มีคุณสมบัติแตกกอดี มีความต้านทานต่อโรคสูง ให้ความหวานสูงและให้ผลผลิตต่อไร่สูงอีกด้วย เมื่อ คัดพันธุ์อ้อยได้แล้ว เราจะตัดส่วนที่เป็นข้อตาออกมาเพาะไว้ในถุงเพาะชำทีละถุง จนข้อตาเริ่มงอกเป็นหน่อและโตขึ้น เราก็จะคัดเลือกหน่ออีกครั้งใช้ วิธีการปลูกด้วยข้อตาโดยตัดห่างจากข้อตาด้านละ 2 นิ้ว 1 ถุงเพาะกล้า ใช้ 1 ข้อตา เมื่อกล้ามีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 30 – 45 วัน ก็นำลงปลูก ซึ่งก่อนปลูกให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นในอัตรา 12.5 กิโลกรัม/แถว แล้วนำต้นกล้าออกจากถุง นำมาลงดินให้พอดีกับร่องอ้อย โดย 1 ร่อง สามารถลงอ้อยได้ 2 ต้น วางเป็นบล็อกๆ เรียงคู่ขนานกันยาวตลอดร่องอ้อย แล้วจึงกลบดินให้แน่น “แปลงปลูกจะมีขนาด 40 เมตร x 40 เมตร จำนวน 40 แถว โดย 1 แถวจะใช้กล้าจำนวน 1,600 ต้น หรือใช้ทั้งหมดจำนวน 64,000 ต้นต่อไร่” โดยทฤษฎีคณิตศาสตร์สูตรคำนวณการปลูกอ้อย 100 ตัน/ไร่: 1) ปลูกอ้อยด้วยอ้อยที่ชำไว้ในถุงให้ได้ 62500 ต้นใน 1 ไร่ 2) บำรุงดูแลอ้อยทุกต้นในไร่ให้ได้น้ำหนักต้นละ 1.6 กิโลกรัม อ้อย 100 ตัน/ไร่ = 62,500 ต้น/ไร่ x 1.6 กก./ต้น แต่ใช้ต้นกล้าปลูกจริง 64,000 ต้นต่อไร่เป็นการให้ค่าเผื่อความผิดพลาดถ้าน้ำหนักอ้อยประมาณ 2% และเพื่อเป็นระเบียบและแถวที่สวยงามเท่านั้นครับ เพราะว่าปลูกจริงบางต้นอ้อยอาจจะหนักต้นละ 1 หรือ 2 กิโลกรัมเป็นต้น การให้น้ำ ใช้ กระบวนการคำนวณที่แม่นยำ รู้ปริมาณน้ำทั้งหมดที่อ้อยต้องการในแต่ละวัน เพื่อนำมาตั้งค่าควบคุมปริมาณน้ำในแต่ละครั้งให้พอดี คิดระบบวางท่อน้ำในไร่อ้อย โดยใช้ท่อน้ำ เจาะรูตามระยะที่คำนวณไว้ เมื่อเปิดน้ำ น้ำจะฉีดขึ้นเหมือนน้ำพุเตี้ย และตกลงมาเหมือนสายฝนธรรมชาติ ที่รดต้นอ้อยตั้งแต่ยอดใบลงมาตลอดลำต้นอย่างทั่วถึง ไม่สิ้นเปลืองน้ำ ประหยัดแรงงาน และได้ประสิทธิภาพสูง ใช้วิธีการให้น้ำแบบน้ำพุเตี้ย ระยะเวลาการให้น้ำวันเว้นวัน วันละประมาณ 20 นาทีหรือประมาณ 12,000 ลิตร/ไร่ การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อนปลูกอัตรา 12.5 กิโลกรัม/แถว และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 เดือนครั้ง จนอ้อยอายุครบ 6 เดือน การดูแลรักษา การปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ เกษตรกรจะต้องดูแลเอาใจใส่มากกว่าการปลูกอ้อยปกติ เพราะมีหลายขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตามให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง แต่ถ้าหากอ้อยมีน้ำหนักมาก ลมพัดแรง อาจทำให้อ้อยล้ม ดังนั้น จะต้องมีการนำไม้ไปค้ำไว้เพื่อป้องกันไม่ให้อ้อยล้ม ถึงแม้ต้นทุนต่อไร่จะสูงกว่าปลูกอ้อยปกติ แต่ก็ให้ผลผลิตมากกว่าเดิม 10 เท่า แต่ใช้พื้นที่เพียงแค่ 1 ไร่เท่านั้น ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกน้อย และต้องการปลูกเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป โครงการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ นับ เป็นความภูมิใจของกลุ่มวังขนาย และมุ่งมั่นที่จะนำความสำเร็จนี้ขยายสู่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดได้ อีกทั้งยังรองรับแผนการขยายอ้อยพันธุ์ดีเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ปลูกขยายพันธุ์ในรูปแบบอ้อยอินทรีย์ ซึ่งเป็นอ้อยธรรมชาติบริสุทธิ์ที่นำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ที่ แท้จริงได้ในที่สุด ช่อง 3:http://www.youtube.com/watch?v=ETuPkq7xW7U ช่อง 7:https://www.youtube.com/watch?v=ooqOY89sKME#t=35
[fbcomments url="http://54.254.250.208/en/knowledge/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2100%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%88/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save